Translate

วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563

เปรียบเทียบระหว่างเคเบิลเส้นใยแก้ว (Fiber Optic) กับสายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)

 


ตารางเปรียบเทียบระหว่างเคเบิลเส้นใยแก้ว (Fiber Optic) กับสายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) 



เส้นใยแก้ว Fiber

โดยข้อดีสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. มีค่าการลดทอนสัญญาณต่ำ (low attenuation)

2. บรรจุข้อมูลได้เป็นจำนวนมหาศาล

3. โครงสร้างของสายเคเบิลมีขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบา

4. ราคาถูก เนื่องจากเส้นใยแก้วทามาจากวัตถุดิบที่เป็นทราย ซึ่งหาได้ง่ายกว่าทองแดงในธรรมชาติ

5. เป็นอิสระทางไฟฟ้า (Electrical Isolation) เนื่องจากเส้นใยแก้วมีคุณสมบัติเป็นฉนวน จึงไม่นำไฟฟ้า

6. ปราศจากสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า

7. ข้อมูลมีความปลอดภัยสูง

8. มีความทนทานสูง เส้นใยแก้วแต่ละเส้นจะมีอายุการทำงานที่ยาวนานมาก   กรณ๊ไม่หักหรือโดนแรงมากระทำ


โดยมีข้อด้อยดังนี้

1. เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักได้ง่ายเมื่อมีแรงภายนอกมากระทำ

2. เคเบิลเส้นใยแก้วไม่สามารถจัดวางให้มีรัศมีการโค้งงอน้อยๆ ได้ เหมือนสายไฟ

3. ในการติดตั้งระบบสายส่งเคเบิลเส้นใยแก้ว ต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์พิเศษ

รวมทั้งต้องอาศัยทักษะ ความชานาญ ความประณีต ซึ่งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูงสาหรับงานด้านนี้ ค่อนข้างจะมีราคาสูงทีเดียว

ภาพเครื่องมือ Splice (เชื่อมสาย) สาย Fiber 


สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
    สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณอีกประเภทหนึ่งซึ่งจะประกอบด้วยลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติกชั้นหนึ่ง แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่น แล้วหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยฉนวนพลาสติก สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสัญญาณรบกวนอื่น ๆ ใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบโทรทัศน์ ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 350 Mbps ระยะการส่งสัญญาณสูงสุด 2-3 ไมล์
 
ข้อดี
- ราคาถูก
- มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
- ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา 
ข้อเสีย
- ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
- ระยะทางจำกัด