Translate

วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2566

Datacenter คืออะไร?

 Datacenter (ศูนย์ข้อมูล) เป็นสถานที่ที่รวมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายที่ใช้ในการเก็บรักษาข้อมูลและดำเนินการคำนวณขององค์กรหรือองค์กรอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลมักจะมีคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ที่รวมกันเป็นระบบ เครือข่ายเพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลและการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ



Datacenter มักจะมีอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นเซิร์ฟเวอร์, เครือข่าย, ระบบจัดเก็บข้อมูล (storage), และระบบรักษาความปลอดภัย เป็นต้น เครื่องแม่ข่ายและอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้ใน Datacenter มักจะมีการกำหนดค่าและการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างเสถียรและเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ



Datacenter เป็นสถานที่ที่สำคัญสำหรับองค์กรหรือธุรกิจที่มีการใช้งานเทคโนโลยีสูง ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาข้อมูลสำคัญและระบบสำคัญ นอกจากนี้ยังมีบริการ Datacenter ที่ให้บริการแก่ลูกค้าภายนอกเพื่อให้การเก็บรักษาข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ในลักษณะเช่าเป็นบริการ (Infrastructure as a Service หรือ IaaS) หรือสำหรับการใช้พื้นที่สำหรับเซิร์ฟเวอร์ (Co-location Service) อีกด้วย




Datacenter มีประโยชน์หลายอย่างสำหรับองค์กรหรือธุรกิจ ดังนี้:

1. เก็บรักษาข้อมูล: Datacenter ช่วยในการเก็บรักษาข้อมูลที่สำคัญและมีความสำคัญสำหรับธุรกิจ ซึ่งรวมถึงข้อมูลลูกค้า, ข้อมูลการเงิน, รายงานการวิเคราะห์, และข้อมูลอื่น ๆ การเก็บรักษาข้อมูลใน Datacenter ช่วยให้ข้อมูลปลอดภัยและสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา และรองรับการสำรองข้อมูลและการกู้คืนภายในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือความผิดพลาดระบบ


2. ความเสถียรและการดำเนินงานต่อเนื่อง: Datacenter มีโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงและเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่สำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้ตลอดเวลาโดยไม่มีการหยุดชะงักหรือสูญเสียข้อมูล การสำรองข้อมูลและระบบความเสถียรใน Datacenter ยังช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากอุบัติเหตุเช่นไฟฟ้าดับหรือภัยพิบัติอื่น ๆ


3. การเร่งความเร็วและประสิทธิภาพ: Datacenter มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงและเครือข่ายที่รวดเร็ว เมื่อธุรกิจมีความต้องการในการประมวลผลข้อมูลที่มากขึ้นหรือการเชื่อมต่อที่ซับซ้อนมาก




การเลือกใช้ Datacenter นั้นเป็นเรื่องสำคัญสำหรับธุรกิจหรือองค์กร เนื่องจากมีผลต่อประสิทธิภาพและความเสถียรของระบบเทคโนโลยีที่ใช้งาน ดังนั้นควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ก่อนที่จะเลือกใช้ Datacenter ดังนี้:

1. ความเสถียรของบริการ: ตรวจสอบความเสถียรและความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ Datacenter โดยดูที่ประสิทธิภาพในการดำเนินการและการบำรุงรักษาระบบ รวมถึงมาตรการที่มีในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและการสำรองข้อมูล

2. ประสิทธิภาพและความยืดหยุ่น: ตรวจสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ใน Datacenter ว่ามีความสามารถในการรองรับการประมวลผลและการเชื่อมต่อที่ต้องการของธุรกิจหรือไม่ และยังควรพิจารณาถึงความยืดหยุ่นในการปรับปรุงและขยายขนาดของระบบในอนาคต

3. ความปลอดภัย: ตรวจสอบระบบความปลอดภัยที่มีอยู่ใน Datacenter เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลของธุรกิจจะได้รับการปกป้องอย่างเหมาะสม รวมถึงมีการสำรองข้อมูลและมีการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลที่เข้มงวด

4. ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์: พิจารณาตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของ Datacenter

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

บริการ MA กับ PM แตกต่างกันอย่างไร ?

  


  บริการ Maintenance Agreement คือ บริการดูแลและบำรุงรักษา เครื่องคอมพิวเตอร์ PC และ Laptop อุปกรณ์เครือข่าย (Network Device) เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เครื่องลูกข่าย (Client หรือ Workstation) ตลอดจนระบบโปรแกรมใช้งานต่างๆ (Application Software) ให้อยู่ในสถานะพร้อมใช้งานตลอดเวลา

นอกจากนี้การให้บริการ MA ยังรวมไปถึงการให้คำปรึกษาแนะนำกับผู้ใช้งานเกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆในระบบเครือข่าย ให้ถูกต้องและปลอดภัยจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆซึ่งอาจก่อปัญหาได้ เช่น Virus Computer เป็นต้น

เหตุผลที่ควรมี  MA

  • พนักงานบริษัทใช้งานโปรแกรมไม่เป็น
  • กรณีที่ซื้อโปรแกรมแกรมมาแล้วแต่ใช้งานไม่ได้
  • ไม่มีความรู้เรื่อง server หรือความรู้เรื่อง Network
  • Upgrade Version ของ Software เพื่อให้โปรแกรมทันสมัยไม่เป็น
  • บริษัทไม่มีทีมพัฒนา Application Software เป็นของตัวเอง


บริการ Preventive Maintenance (PM) คือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน โดยการวางแผนเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่หรือการซ่อมแซมชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องจักรหลังการใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เพื่อเป็นการตรวจสอบความเสียหายเบื้องต้นและยืดเวลาการใช้งานของเครื่องจักรให้นานมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีความจำเป็นอย่างย่ิงสำหรับผู้ประกอบการทั้งหลาย เพราะนอกจากจะช่วยลดปัญหาความขัดข้องระหว่างการผลิตได้อย่างแม่นยำแล้ว ยังทำให้สามารถผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกเช่นกัน

ตามหลักทั่วไป การป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นล่วงหน้านั้นถือว่าดีกว่าอยู่แล้ว การบำรุงรักษาเชิงป้องกันช่วยลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดโดยการส่งเสริมประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ดีที่สุด รายการต่อไปนี้แสดงถึงวิธีการบางประการที่ทีมดูและทรัพย์สินและฝ่ายซ่อมบำรุงสามารถอยู่เหนือการบำรุงรักษาเชิงป้องกันในแผนกของตน

  • กำหนดเวลาและดำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ
  • ทำความเครื่องจักรและทรัพย์สินเป็นประจำ
  • หล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวเพื่อลดการสึกหรอ
  • ปรับการควบคุมประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีที่สุด
  • ซ่อมแซมและเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ชำรุด
  • ดูแลน้ำมันหล่อลื่นให้สะอาดอยู่เสมอ


วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ระบบ ISDN PRI E1, PSTN , SIP คือ ?

 ระบบ ISDN PRI E1 , PSTN , SIP คือ ?

สายนอก (Trunk or CO) คือ คู่สายโทรศัพท์ที่มาจากผู้ให้บริการ NT,AIS,3BB เป็นต้น เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อกับระบบตู้สาขาโทรศัพท์ ซึ่งรูปแบบของสายนอก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด 

        1. PSTN หรือ สายทองแดง ( 1 Chanel : 1 Tel )

        2. E1 หรือ ISDN ( 1 Link = 30 Chanel + 100 Tel )

        3. SIP TRUNK (ไม่มีข้อจำกัดด้านคู่สาย)


PSTN (Public Switched Telephone Network) เดิมที PSTN สร้างขึ้นโดยใช้สัญญาณอะนาล็อกลอยตัวและสวิตช์บอร์ดที่ดำเนินการด้วยตนเอง แต่ถูกแทนที่ด้วยสวิตช์บอร์ดอัตโนมัติ




ISDN (Integrated Services Digital Network) PRI E1 นี้เป็นมาตรฐานของคู่สายโทรศัพท์ที่ใช้กันมาตั้งแต่ในอดีต

โดย Primary Rate Interface (PRI) นี้จะมีให้เลือกใช้งานอยู่ 2 มาตรฐานคือ แบบ T1, แบบ E1


แบบ T1 : จะมีแบนด์วิธ Bandwidth แต่ละช่องสัญญาณเท่ากับ 64-kbit/s และมีช่องสัญญาณ ทั้งหมด 23 ช่องสัญญาณหรือ 23 คู่สายนั่นเอง  มี Bandwidth ทั้งหมด 1.536 Mbit/s /1 วงจร ซึ่งปกติคู่สายแบบ T1 จะนิยมใช้กันในแถบโซนอเมริกา 


แบบ E1 :  จะมีแบนด์วิธ Bandwidth แต่ละช่องสัญญาณเท่ากับ 64-kbit/s และมีช่องสัญญาณทั้งหมด 30 ช่องสัญญาณ หรือ 30 คู่สายนั่นเอง  มี Bandwidth ทั้งหมด 2.048 Mbit/s /1 วงจร ซึ่งปกติคู่สายแบบ E1 จะนิยมใช้กันในแถบโซนยุโรป และในประเทศไทยก็ใช้ E1 นี้เป็นมาตรฐานการใช้งาน



คุณสมบัติเด่น (ISDN PRI E1) 

การคิดอัตราค่าใช้บริการราคาประหยัด สำหรับการโทรในพื้นที่ (02), ต่างจังหวัด, มือถือทุกเครือข่าย, แฟกซ์

เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลางถึงใหญ่ที่ต้องการใช้โทรศัพท์หลายเบอร์แต่ประหยัดคู่สาย (1 DTI = 30 วงจร ได้หมายเลขตรง 100 หมายเลข)

สามารถเรียกเข้าหมายเลขได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่าน Operator

มีหมายเลขตรงทุก Extension

สามารถใช้เลขหมายสวยเป็นเบอร์ operator ได้

หมายเลขเรียงต่อกันและมีเลขสวย ซึ่งง่ายต่อการจดจำและประชาสัมพันธ์

เป็นระบบ Digital ซึ่งไม่มีปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวน และใช้เพียง 2 คู่สายภายใน

เมื่อโทรออกสามารถกำหนดให้แสดงเบอร์ตรงที่ปลายเพื่อความสะดวกในการติดต่อกลับในภายหลัง

ในกรณีใช้หัวเครื่อง Digital สามารถแสดงเลขหมายโทรเข้าได้



SIP TRUNK (Session Initiated Protocol Trunk) - การสนทนาด้วยเสียงผ่าน Internet ที่เรียกกันว่า VoIP คือการใช้ระบบเครือข่ายให้ทำงานในรูปแบบของเสียง สามารถพูดโต้ตอบกันได้ กรณีที่เป็น ADSL ทั่วไปจำเป็นต้องมี Server กลางสำหรับกำหนดการเชื่อมต่อ เช่น Skype DNS เป็นต้น  

SIP Trunk เปรียบเสมือนสายนอกในระบบเครือข่าย นำสัญญาณโดยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถติดต่อกันโดยใช้หมายเลขอ้างอิงจากผู้ให้บริการ ในปัจจุบันแต่ละผู้ให้บริการยังไม่สามารถโทรข้ามกัน ผู้ใช้ SIP Trunk ด้วย SIP Provider เดียวกันสามารถโทรหากันได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย


คุณสมบัติเด่น (SIP Trunk)

คิดอัตราค่าใช้บริการในราคาประหยัด สำหรับการโทรในพื้นที่ (02), ต่างจังหวัด, มือถือทุกเครือข่าย, แฟกซ์

รองรับการกำหนดวงจรภายใน Trunk (Concurrent) และเลขหมายได้ตามความต้องการลูกค้า สามารถใช้งานได้เหมือนกับระบบโทรศัพท์พื้นฐานทั่วไป

ได้รับหมายเลขโทรศัพท์เช่นเดียวกับโทรศัพท์พื้นฐานตามพื้นที่ของการใช้งาน เช่น ลูกค้าในพื้นที่กรุงเทพจะได้รับหมายเลข 0-2XXX-XXXX หากอยู่ต่างจังหวัดก็จะได้รับหมายเลขโทรศัพท์ตามพื้นที่นั้น

สะดวกต่อการเพิ่มจำนวนคู่สายเพื่อรองรับการใช้งานที่มากขึ้น

สามารถใช้เป็นวงจรสำรอง ในกรณีที่ระบบโทรศัพท์พื้นฐานไม่สามารถใช้งานได้

สามารถใช้ประโยชน์จาก IP Network ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

รองรับการทำงานร่วมกับวงจรอินเทอร์เน็ตทุกผู้เครือข่าย





*** เกร็ดความรู้  : ระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิม
    ระบบโทรศัพท์ที่พวกเราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ในองค์กร หน่วยงาน จะอาศัยอุปกรณ์ ที่เราเรียกกันว่า ตู้สาขาโทรศัพท์  PABX , PBX ( Private Automatic Branch eXchange , Private Branch eXchange ) ที่คอยทำหน้าที่เป็น switching ให้เราสามารถโอนไปมาหากัน ได้ เวลาที่เราต้องการโทรออก ก็คอยหาคู่สายว่างให้เราสามารถโทรได้ PABX ที่รองรับ line โทรศัพท์เยอะๆ ก็มีขนาดใหญ่(มากๆ) อยู่เหมือนกัน และต้องเดินส่วนเฉพาะสำหรับใช้งานระบบโทรศัพท์ แบบ 1 ต่อ 1 เช่นมี 1000 คู่สายภายใน ก็ต้องมี 1000 สาย เชื่อมต่อไปยังเครื่องโทรศัพท์



วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565

Wifi 6 คือ ?

 Wifi 6 คือ ?


WiFi (Wi-Fi) เป็นมาตรฐาน LAN ไร้สาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ IEEE 802.11 สำหรับการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ

รุ่น/มาตรฐาน IEEE

Wi-Fi 6 (มาตรฐาน IEEE 802.11ax) >>> ความถี่ 2.4/5 GHz >>> Link Rate Max : 600–9608 Mbit/s

Wi-Fi 5 (มาตรฐาน IEEE 802.11ac) >>> ความถี่ 5 GHz >>> Link Rate Max : 433–6933 Mbit/s

Wi-Fi 4 (มาตรฐาน IEEE 802.11n) >>> ความถี่  2.4/5 GHz >>> Link Rate Max : 72–600 Mbit/s


ข้อดีของ WIFI6 : ความเร็วมากขึ้น

เนื่องจากแบนด์วิดธ์ที่เพิ่มขึ้นที่ Wi-Fi 6 จ่ายให้ สิ่งนี้กำลังทวีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากขนาดไฟล์ยังคงเพิ่มขึ้น

อย่างต่อเนื่องพร้อมกับความต้องการข้อมูลที่สูงขึ้นในการสตรีมวิดีโอคุณภาพสูงและการเล่นเกมออนไลน์ที่

ต้องใช้การสื่อสารอย่างหนัก การเล่นเกมแบบผู้เล่นหลายคนพร้อมกันขณะมีการสตรีม 

ต้องใช้แบนด์วิดธ์ขนาดใหญ่และการเชื่อมต่อที่เชื่อถือได้และเสถียร


แล้ว Wi-Fi 6 เร็วขึ้นขนาดไหน ?

9.6 Gbps คือระดับความเร็วสูงสุดของ Wi-Fi 6 ในช่องสัญญาณต่างๆ ในทางตรงกันข้าม Wi-Fi 5 นั้นมีระดับความเร็วสูงสุดที่ 3.5 Gbps



Wi-Fi 6 มีความหน่วงที่ต่ำลงได้ถึง 75% โดยสามารจัดการการรับส่งข้อมูลเครือข่ายจำนวนมากอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

สำหรับนักเล่นเกมแล้ว นั่นหมายถึงการดาวน์โหลดเกมที่เร็วขึ้น ความเร็วในการอัปโหลดที่ดีขึ้นในการสตรีมการเล่นเกม


อะไรที่ทำให้ Wi-Fi 6 เร็วขึ้น ?

เทคโนโลยี Orthogonal Frequency Division Multiple Access (OFDMA) OFDMA ทำงานโดยการแบ่งช่องสัญญาณเป็นคลื่นพาห์ย่อย

และอนุญาตให้รับส่งไปยังอุปกรณ์ปลายทางหลายจุดในเวลาเดียวกัน เราเตอร์ Wi-Fi 6 สามารถส่งสัญญาณต่างๆ ใ

นหน้าต่างรับส่งสัญญาณเดียวกันได้ ส่งผลให้เราเตอร์สามารถที่จะสื่อสารกับอุปกรณ์หลายชนิดได้ด้วยการส่งสัญญาณเพียงครั้งเดียว

แทนที่จะต้องรอให้ถึงรอบของแต่ละอุปกรณ์เนื่องจากเราเตอร์รับส่งข้อมูลให้ทั่วทั้งเครือข่าย


เทคโนโลยี Beamforming เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ Wi-Fi 6 ปรับปรุงเพื่อให้ได้ความเร็วที่สูงขึ้น วิธีการส่งข้อมูลที่สุดล้ำสมัยนี้จริง ๆ 

แล้วทำได้ค่อนข้างง่าย แทนที่จะกระจายข้อมูลไปในทุกทิศทาง เราเตอร์จะตรวจจับตำแหน่งที่อุปกรณ์ที่ร้องขอข้อมูลอยู่และ

ส่งกระแสข้อมูลที่ถูกแปลงไปมากขึ้นในทิศทางนั้น



วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2565

มาตรฐาน OSI 7 Layer

มาตรฐา่น OSI 7 Layer


องค์กรมาตรฐาน ISO (Internation Organization for Standardzation) ได้ทำการศึกษาหาแนวทางกำหนดมาตรฐานฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในระบบเครือข่าย โดยตั้งชื่อมาตรฐานว่า ISO (Open System interconnection) เพื่อให้เครือข่ายที่ถูกสร้างจากบริษัทต่างๆ สามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกันได้ โดยโครงสร้างจะถูกแบ่งได้ 7 Layer


1. Physical Layer  เป็นระดับต่ำสุดจะมองในแง่สัญญาณที่ส่งข้อมูลระหว่างกัน รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อจริงๆ อุปกรณ์ระดับนี้ เช่น สาย Fiber Optic, สาย UTP, Hub, Repeater

2. Data Link Layer เป็นระดับที่ใช้รับส่งข้อมูลผ่านตัวกลาง (Media) และจัดรูปแบบของเฟรม (Frame) เพื่อเชื่อมต่อกับระดับที่ 3 อุปกรณ์ที่ทำงานในชั้นนี้ เช่น สวิตซ์ (Switch) 

3. Network Layer เป็นระดับที่มองข้อมูลที่แพ็กเกจ (Package) โดยที่แพ็คเกจอาจจะใหญ่หรือเล็กจะเป็นข้อมูลที่ถูกซอยย่อยให้างไปในเครือข่าย ซึ่งข้อมูลบางส่วนในแพ็คเกจใช้เป็นตัวช่วยบอกเส้นทางที่แพ็คเกจนั้นจะเดินทางไป อุปกรณืในชั้นนี้ เช่น เราเตอร์ (Router)

4. Transport Layer เป็นระดับที่ใช้ในการควบคุมความผิดพลาดในการรับ-ส่งข้อมูลจากต้นทางไปปลายทาง

5. Session Layer เป็นระดับที่ใช้กำหนดวิธีการควบคุมการเชื่อมต่อระหว่างผู้รับข้อมูลและผู้ส่งข้อมูล ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดการสื่อสาร

6. Presentation Layer เป็นระดับที่ดูแลเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างแอปพลิเคชันของคอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ ในเครือข่าย

7. Application Layer เป็นระดับที่จัดการเกี่ยวกับแอปพลิเคชัน เช่น การเข้าถึงญานข้อมูล หรือการรับ-ส่ง E-mail



วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564

เทคโนโลยี Blockchain

เทคโนโลยีบล็อกเชนคืออะไร



        เทคโนโลยีบล็อกเชน เป็นกลไกฐานข้อมูลขั้นสูงที่เปิดรับการแบ่งปันข้อมูลที่โปร่งใสภายในเครือข่ายธุรกิจ โดยฐานข้อมูลบล็อกเชนจะจัดเก็บข้อมูลในบล็อกที่เชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวจะมีความสอดคล้องกันตามลำดับเวลาเนื่องจากคุณไม่สามารถลบหรือแก้ไขลูกโซ่ได้หากไม่ได้รับฉันทามติจากเครือข่าย ด้วยเหตุนี้ คุณจึงสามารถใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อสร้างบัญชีแยกประเภทที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้และไม่เปลี่ยนรูปเพื่อติดตามคำสั่งซื้อ การชำระเงิน บัญชี และธุรกรรมอื่นๆ ระบบดังกล่าวมีกลไกภายในที่ป้องกันการเพิ่มธุรกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาตและสร้างมุมมองของธุรกรรมร่วมเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ



       จุดกำเนิดของ Blockchain
        เมื่อปี 2008 ในช่วงวิกฤตเศษฐกิจครั้งใหญ่ที่เราเรียกว่า Global Financial Crisis บุคคลนิรนามที่ใช้ชื่อว่า Satoshi Nakamoto ได้ให้กำเนิดสิ่งที่เรียกว่าบิทคอยน์ขึ้นมา โดยออกแบบให้บิทคอยน์เป็นเงินดิจิทัลสกุลแรกในประวัติศาสตร์ที่ใครๆก็สามารถใช้ได้ ทุกคนสามารถถือเงินและโอนเงินหากันได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใด ๆ เช่นธนาคาร และที่สำคัญ มันไม่ได้ถูกสร้างหรือควบคุมโดยรัฐหรือองค์กรใด ๆ


เป็นการเก็บข้อมูล ซึ่งไม่มีตัวกลาง โดยข้อมูลจะถูกแชร์และจัดเก็บเป็นสำเนาไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน

เสมือนห่วงโซ่ (Chain) เทคโนโลยีนี้จะช่วยด้านความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมการเงินแบบไม่อาศัยคนกลาง


    (1) กรณีมี Hacker ต้องการทำลายข้อมูลเอกสารการเงิน Hacker ต้องไปทำลายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันทุกเครื่อง

    (2) กรณีมี Hacker ต้องการขโมยข้อมูล จะต้องทำการ Hack ให้ได้มากกว่า 51% จึงจะทำการ Hack สำเร็จ โดยต้องไปขโมยข้อมูลเดียวกันทุกเครื่องในฐานข้อมูลเดียวกัน



และที่สำคัญเทคโนโลยีนี้ได้มีการนำมาใช้กับการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล เช่น Bitcoin , ETH และอื่นๆ

เอา Blockchain มาใช้กับการเงิน Bitcoin 

Bitcoin และบล็อกเชนแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
Bitcoin และบล็อกเชนอาจใช้แทนกันได้ แต่ทั้งคู่เป็นสองสิ่งที่แตกต่างกัน เนื่องจาก Bitcoin เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในยุคแรก ผู้คนจึงเริ่มใช้ Bitcoin เพื่อสื่อความหมายถึงบล็อกเชนโดยไม่ได้ตั้งใจ จนทำให้เกิดการเรียกชื่อผิดนี้ขึ้น แต่เทคโนโลยีบล็อกเชนมีการประยุกต์ใช้มากมายนอกเหนือจาก Bitcoin

Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ทำงานโดยไม่มีการควบคุมจากศูนย์กลาง แต่เดิมนั้น มีการสร้าง Bitcoin ขึ้นเพื่อทำธุรกรรมทางการเงินทางออนไลน์ แต่ตอนนี้ถือว่าเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่สามารถแปลงเป็นสกุลเงินอื่นๆ ทั่วโลกได้ เช่น USD หรือยูโร โดยเครือข่ายบล็อกเชน Bitcoin แบบเปิดสาธารณะจะสร้างและจัดการบัญชีแยกประเภทกลาง 

เครือข่าย Bitcoin
บัญชีแยกประเภทสาธารณะบันทึกธุรกรรม Bitcoin ทั้งหมด และเซิร์ฟเวอร์ทั่วโลกต่างมีสำเนาของบัญชีแยกประเภทนี้ เซิร์ฟเวอร์จึงเปรียบเสมือนธนาคาร แม้ว่าแต่ละธนาคารจะรับทราบเพียงข้อมูลเกี่ยวกับเงินที่ลูกค้าแลกเปลี่ยน แต่เซิร์ฟเวอร์ Bitcoin นั้นรับรู้ถึงธุรกรรม Bitcoin ทุกรายการที่เกิดขึ้นในโลก

ไม่ว่าใครที่มีคอมพิวเตอร์สำรองสักเครื่องก็สามารถตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ซึ่งเรียกว่าโหนดได้ ซึ่งเปรียบเสมือนกับการเปิดธนาคาร Bitcoin ของคุณเองแทนที่จะเป็นบัญชีธนาคาร

การขุด Bitcoin
ในเครือข่าย Bitcoin สาธารณะ สมาชิกจะขุดหาสกุลเงินดิจิทัลโดยการแก้สมการในการเข้ารหัสเพื่อสร้างบล็อกใหม่ ระบบจะเผยแพร่ธุรกรรมใหม่แต่ละรายการสู่สาธารณะไปยังเครือข่ายและแบ่งปันจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง ทุกๆ 10 นาทีหรือราวๆ นั้น นักขุดจะรวบรวมธุรกรรมเหล่านี้ไว้ในบล็อกใหม่และเพิ่มเข้าไปยังบล็อกเชนอย่างถาวร ซึ่งทำหน้าที่เหมือนสมุดบัญชีขั้นสุดท้ายของ Bitcoin



ทั้งนี้การขุดต้องใช้ทรัพยากรการในการประมวลผลจำนวนมหาศาลและใช้เวลานานเนื่องจากความซับซ้อนของกระบวนการด้านซอฟต์แวร์ นักขุดจึงได้รับสกุลเงินดิจิทัลจำนวนเล็กน้อยเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน โดยนักขุดเปรียบเสมือนเสมียนสมัยใหม่ที่บันทึกธุรกรรมและเก็บค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม

จากนั้นผู้เข้าร่วมทุกคนในเครือข่ายจะบรรลุฉันทามติว่าบุคคลใดเป็นเจ้าของเหรียญใด โดยใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสบล็อกเชน





วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563

เปรียบเทียบระหว่างเคเบิลเส้นใยแก้ว (Fiber Optic) กับสายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)

 


ตารางเปรียบเทียบระหว่างเคเบิลเส้นใยแก้ว (Fiber Optic) กับสายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) 



เส้นใยแก้ว Fiber

โดยข้อดีสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. มีค่าการลดทอนสัญญาณต่ำ (low attenuation)

2. บรรจุข้อมูลได้เป็นจำนวนมหาศาล

3. โครงสร้างของสายเคเบิลมีขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบา

4. ราคาถูก เนื่องจากเส้นใยแก้วทามาจากวัตถุดิบที่เป็นทราย ซึ่งหาได้ง่ายกว่าทองแดงในธรรมชาติ

5. เป็นอิสระทางไฟฟ้า (Electrical Isolation) เนื่องจากเส้นใยแก้วมีคุณสมบัติเป็นฉนวน จึงไม่นำไฟฟ้า

6. ปราศจากสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า

7. ข้อมูลมีความปลอดภัยสูง

8. มีความทนทานสูง เส้นใยแก้วแต่ละเส้นจะมีอายุการทำงานที่ยาวนานมาก   กรณ๊ไม่หักหรือโดนแรงมากระทำ


โดยมีข้อด้อยดังนี้

1. เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักได้ง่ายเมื่อมีแรงภายนอกมากระทำ

2. เคเบิลเส้นใยแก้วไม่สามารถจัดวางให้มีรัศมีการโค้งงอน้อยๆ ได้ เหมือนสายไฟ

3. ในการติดตั้งระบบสายส่งเคเบิลเส้นใยแก้ว ต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์พิเศษ

รวมทั้งต้องอาศัยทักษะ ความชานาญ ความประณีต ซึ่งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูงสาหรับงานด้านนี้ ค่อนข้างจะมีราคาสูงทีเดียว

ภาพเครื่องมือ Splice (เชื่อมสาย) สาย Fiber 


สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
    สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณอีกประเภทหนึ่งซึ่งจะประกอบด้วยลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยฉนวนพลาสติกชั้นหนึ่ง แล้วจึงหุ้มด้วยทองแดงที่ถักเป็นแผ่น แล้วหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยฉนวนพลาสติก สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสัญญาณรบกวนอื่น ๆ ใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบโทรทัศน์ ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 350 Mbps ระยะการส่งสัญญาณสูงสุด 2-3 ไมล์
 
ข้อดี
- ราคาถูก
- มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
- ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา 
ข้อเสีย
- ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
- ระยะทางจำกัด