Translate

วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ฮาร์ดดิสก์ Harddisk คือ ?

ฮาร์ดดิสก์ [Harddisk] คือ ?



ฮาร์ดดิสก์ คือ ตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ใน Computer ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลระบบปฎิบัติการ Window , Linux หรือจะเป็นข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ไฟล์งาน ก็ล้วนแต่ถูกจัดเก็บไว้ในนี้

*** ส่วนประกอบภายใน ฮาร์ดดิสก์ ***




- แขนหัวอ่าน (Actuator Arm)

         ทำงานร่วมกันกับ Stepping Motor ในการหมุนแขนหัวอ่านไปยังดำแหน่งสำหรับเขียนอ่านข้อมูล




หัวอ่าน (Head)

         เป็นส่วนที่ใช้ในการเขียนอ่านข้อมูล จะอยู่ส่วนปลายของแขนหัวอ่าน (Actuator Arm) ขั้นตอนการเขียนข้อมูลคือ มันจะแปลงแรงดันไฟฟ้าแล้วไหลเข้าสู่ขดลวดทำให้เกิดการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กมันจะไปเปลี่ยนโครงสร้างของสารแม่เหล็ก ที่ฉาบบนแผ่นดิสก์ จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล 




- จานแม่เหล็ก (Platters)

       เป็นจานเหล็กที่เคลือบสารแม่เหล็ก ยิ่งซ้อนกันหลายชั้น ความจุยิ่งมาก และสารแม่เหล็กที่ถูกเหนี่ยวนำจะเป็น 0 และ 1 เพื่อการจัดเก็บข้อมูล [ท่านผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมเรื่อง 0 และ 1 ได้ในเรื่อง Basics of Binary Number] 




- มอเตอร์หมุนแผ่นแม่เหล็ก (Spindle Motor) ***

       มีความสำคัญอย่างมากต่อความเร็วในการอ่านข้อมูล ยิ่งเร็วมากก็จะเจอข้อมูลเร็ว ซึ่งความเร็วที่ว่านี้จะวัดกันเป็น รอบต่อนาที ( Rovolution Per Minute หรือ RPM ) ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาในการซื้อมาใช้งานนะครับ 




เคส (Case)

       กล่องสี่เหลี่ยม หุ้มด้านนอกป้องกันความเสียหายจากการจับ ส่วนด้านกระแทกไม่ค่อยจะกันเท่าไร





*** ประเภทของ ฮาร์ดดิสก์ ในปัจจุบัน ***

PATA (Parallel Advance Technology Attachment)

เป็นฮาร์ดิสรุ่นดึกดำบรรพ์ ทำให้ความเร็วในการเขียนและอ่านข้อมูลอยู่ที่ 8.3 Mbps และมีความจุข้อมูลอยู่ที่ประมาณ 504 Mb ต่อมาได้มีการพัฒนาให้เขียนอ่านอยู่ที่ประมาณ 133 Mbps




- SCSI (Small Computer System Interface)

เป็นตัวเชื่อมระหว่างอุปกรณ์ มักใช้กับคอมพิวเตอร์ที่มีความต้องการความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูง โดยมักจะเห็นการใช้งานบน Server เนื่องจากมีราคาสูงตามไปด้วย 




SATA (Serial Advanced Technology Attachment)
SATA ชื่อเต็มคือ อนุกรมแนบเทคโนโลยีขั้นสูง เป็นระบบการรับส่งข้อมูลแบบอนุกรม  ตอนนี้ SATA แล้วแทนที่ PATA (Parallel TAT หรือ IDE) เนื่องจากประสิทธิภาพแล้ว ก็ความเร็วในการอ่านเขียนที่มากกว่า



NL SAS (Near Line SAS)
SAS เทียม พูดง่ายๆ คือจับเอา HDD SATA มาใส่ Controller ที่คุณสมบัติใกล้เคียงกับ SAS แท้  ความเร็ว 5400-7200 rpm ความจุมีหลายขนาดเท่าที่ความจุ SATA มีตอนนี้




SAS (Serial Attached SCSI)

SAS ก็ไปเทียบกับ SCSI พวก server ใช้ (ต้องการความอึดเป็นพิเศษ) SAS แท้ ความเร็ว 10000-15000 rpm ความจุไม่เกิน 600GB (ความเร็วต่างกันสามารถใช่ร่วมกันได้ ความเร็วตัวที่มากกว่าจะปรับลดลงให้เท่ากับตัวที่ต่ำสุด)




Solid-State Drive (SSD)

HDD แบบใหม่ที่มีการใช้ชิป (Chip) ในการใช้เป็นหน่วยความจำแทนการใช้จานแม่เหล็กแบบเดิม ซึ่งก็เหมือน Flash Drive 
                มีส่วนประกอบสำคัญ 1. ชิปหน่วยความจำ
                                               2. ชิปคอนโทรลเลอร์ สำหรับความคุมการทำงาน
ข้อดี คือ เวลาในการเข้าถึง HDD เร็วและเงียบเพราะไม่มีเสียงจานหมุน ทนแรงกระแทก การสั่นสะเทือน น้ำหนักเบา ความร้อนจะน้อยกว่าเพราะไม่มีจานแม่เหล็กหมุน น้ำหนักเบา
ข้อเสีย คือ ราคาแพง ความจุต่ำกว่า HDD ที่ใช้แผ่นแม่เหล็ก








วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2560

RAM มีปัญหา..ทำไมถึงต้องเอายางลบลบ ??


 วิธีนี้เป็นการแก้ไขที่ ทำกันมามากกว่า 30 ปีเป็นที่ยอมรับว่ามันได้ผล



                 สาเหตุที่เราเหล่าไอทีต้องนำยางลบมาลบ RAM นั้นก็เพื่อขจัดคราบฝุ่นที่มาสัมผัสหน้าทองแดง ฝุ่นทำให้การทำงานของ RAM มีอาการขัดข้อง

                 เมื่อไรจะรู้ว่าเราควรจะเอายางลบมาถูหน้าผิวก็คือ เมื่อเปิดคอมพิวเตอร์แล้วไม่ติดมีเสียง ดังปิ๊ป พัดลมยังทำงานแต่จอไม่ติด หรือเปิดมาเจอฝุ่นมหาศาลก็สมควรทำความสะอาด




                 ขั้นตอนการทำความสะอาดนั้นง่ายมาก เปิดฝาคอมพิวเตอร์ออก จากนั้นหายางลบสักก้อนนำมาลบบริเวณแถบทองแดงทั้งสองด้านให้มันวาว เมื่อทำเสร็จให้ทำการเสียบกลับแล้วลองเปิด



เมื่อทำการทำความสะอาดจนใสปิ้งแล้วก็ทำการใส่กลับได้เลยครับ แนะนำให้นำแปรงมาทำการปัดสล๊อตที่ใส่ RAM ด้วย











วันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การจัดเรียงไฟล์ข้อมูล Disk Defragment


  Disk Defragment



     Deframent หรือ Defragmentation คือการให้ Harddisk จัดเรียงไฟล์ข้อมูล โดยปกติแล้ว Harddisk จะทำการจัดเรียงข้อมูลแบบ random [สุ่ม] เน้นความรวดเร็วในการจัดเก็บข้อมูล เพราะข้อมูลมามันก็วางมั่วๆ ผลที่ตามมาเมื่อเวลาผ่านไปนานๆนั้นคือ การดึงไฟล์ออกมาใช้งานวิ่งหาข้อมูลจะนานขึ้นก็เพราะวางไว้มั่วๆ ไม่มีการจัดระเบียบ
     **ซึ่งตัวโปรแกรม Defragment  ไม่ต้องไปหาที่ไหนก็ได้เพราะใน Window ทุกรุ่นมันติดมาให้แล้ว**


ขั้นตอนการทำ Defragment

   1. กด My Computer , PC 



  2. คลิ๊กเมาส์ขวาไดร์ : C จากนั้นเลือก Properties




  3. คลิ๊กเลือกที่ Tool 






  4. จากนั้นเลือก Optimizing [เวอชั่นเก่า Defragment]






  5. จากนั้นกด Optimise Drives [เวอชั่นเก่าเลือก Defragment]







  6. รอจนเสร็จก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยครับ