Translate

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ระบบ LAN


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุปกรณ์ประกอบสาย LAN 
(ชื่อทางการ สาย UTP : Unshielded Twisted Pair)

การเลือกใช้สาย >> แบ่งตามลักษณะการติดตั้ง

1. ชนิดติดตั้งภายในอาคาร (Indoor Cable)

สายสัญญาณสำหรับติดตั้งภายในอาคารนั้น เปลือกนอกมักนิยมทำจากวัสดุ PVC เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและสามารถป้องกันการลามไฟได้ นอกจากนี้ได้มีข้อกำหนดหรือมาตรฐานป้องกันทางด้านอัคคีภัย จึงต้องมีการใส่สารพิเศษเข้าไป ทำให้สามารถแบ่งชนิดของสายภายในอาคารที่ใช้กันแพร่หลาย 4 ชนิดด้วยกัน

- CM (Communication Metallic)
เป็นสายที่สามารถป้องกันการลามไฟได้ในแนวราบ เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป เช่นการติดตั้งสายแนวราบภายในชั้นเดียวกัน (Horizontal Wiring)

- CMR (Communication Metallic Riser)
สายชนิดนี้สามารถป้องกันการลามไฟทั้งแนวราบและแนวดิ่ง มักใช้ในการเดินสายสัญญาณระหว่างชั้นในอาคารโดยผ่านช่องเดินสายของตัวอาคาร (Vertical Shaft)

- CMP (Communication Metallic Plenum)
เป็นสายที่เหมาะสำหรับการติดตั้งเดินสายบนฝ้าเพดาน หรือบริเวณช่องว่างเหนือฝ้าที่มีอากาศไหลเวียน (Plenum Space) แต่ไม่สามารถป้องกันการลามไฟในแนวดิ่งได้

- LSZH (Low Smoke Zero Halogen)
สามารถป้องกันการลามไฟได้ทั้งในแนวราบและแนวดิ่งเหมือน CMR แต่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือเมื่อเกิดอัคคีภัย สายชนิดนี้จะมีควันน้อยและไม่ก่อให้เกิดสารพิษ


ภาพสายใช้ภายในอาคาร เปลือกสีขาว หรือ ฟ้า วัสดุ PVC เกรด CM, CMR 
หรือ LSZH

2. ชนิดติดตั้งภายนอกอาคาร (Outdoor Cable)

สายสัญญาณสำหรับติดตั้งภายนอกอาคารนั้น จะมีเปลือกนอกทำจากวัสดุ PE (Polyethylene) ซึ่งมีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอก ไม่สึกกร่อน แต่จะไม่สามารถป้องกันการลามไฟได้ ดังนั้นเราควรเลือกสายให้ถูกต้องตามชนิดของการใช้งาน

ภาพสายใช้ภายนอกอาคาร เปลือกสีดำ วัสดุเป็น PE


ภาพลักษณะการติดตั้ง


  • ที่เรียกกันติดปากว่า "สาย LAN" จะประกอบไปด้วย 1.หัวตัวผู้ [RG45 Plug]   2. สาย UTP 3. Locking Plug Boot














































  • แผ่นๆที่ติดตามผนังบ้านจะเรียก Face Plate โดยจะใช้คู่กับ เต้ารับตัวเมีย [RJ45 Modular] 
































































  • เต้ารับแบบฝังพื้น ที่เห็นในสำนักงาน หรือ บริษัท เรียกว่า POP-Up 1 , 2 , 3 Port Outlet w/DAMPING




















  • สาย LAN แบบสำเร็จรูปมาจากโรงงาน ที่พวกเราชอบซื้อกันแบบแพ็คใส่ถุงจะเรียกว่า สาย Patch Cord








































  • แผงกระจายสายมีเหล็กจัดสายและติดป้ายชื่อได้ที่เอาไว้ติดในตู้ Server >> แผงนี้จะเรียกว่า Patch Panel 





























*** แหล่งข้อมูล Credit : Interlink

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2562

Internet of things (IoT) คืออะไร ??



Internet of things (IoT) พูดง่ายๆก็คืออุปกณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถสื่อสารพูดคุยกันเองได้ โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ผ่าน IP address โลกมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นจำนวนมากและมีการใช้คำว่า Smart ซึ่งในที่นี้คือ smart device, smart grid, smart home, smart network, smart intelligent transportation ต่างๆเหล่านี้ล้วนมีโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ตได้

Image result for internet of things คือ


Internet of Things (IoT) มาประยุกต์ใช้งานในภาครัฐและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงแล้ว จีนนั้นก็ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าจับตามองไม่น้อย ด้วยความพร้อมทั้งด้านผู้ผลิตเทคโนโลยีทั้งในส่วนของระบบเครือข่ายและ Hardware ไปจนถึงนโยบายการส่งเสริมที่เป็นรูปธรรมจากภาครัฐ

Image result for internet of things (iot) คือ

Image result for internet of things (iot)

ตัวแปลสำคัญสำหรับ Internet of Things ที่ใช้ในการสื่อสารนั้นไม่เพียงแต่ Internet network เพียงเท่านั้น 
         แต่ยังมีตัวแปลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องอีกนั่นคือ Sensor node ต่างๆจำนวนมากที่ทำให้เกิด wireless sensor network (WSN) ให้กับอุปกรณ์ต่างๆสามารถเชื่อมต่อเข้ามาได้ ซึ่งเจ้า WSNs นี่เองสามารถตรวจจับปรากฏการณ์ต่างๆ (physical phenomena) ในเครือข่ายได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น แสง อุณหภูมิ ความดัน เป็นต้น เพื่อส่งค่าไปยังอุปกรณ์ในระบบให้ทำงานหรือสั่งงานอื่นๆต่อไป


Access Technology (อุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ในเทคโนโลยี)
         การพัฒนา Internet of Things นั้นนอกจากจะพัฒนาเทคโนโลยีในฝั่ง Hardware ได้แก่ processors, radios และ sensors ซึ่งจะถูกรวมเข้าด้วยกันเรียกว่า a single chip หรือsystem on a chip (SoC) แล้วก็ยังพัฒนา WSN ไปพร้อมๆกันด้วย และเมื่อพูดถึงการเชื่อมต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมต่อสำหรับ Internet of Things หรือ Access tectechnology มีอยู่ 3 ตัวได้แก่
  • Bluetooth 4.0
  • IEEE 802.15.4e
  • WLAN IEEE 802.11™ (Wi-Fi) มาตรฐานการทำงานของระบบเครือข่ายไร้สาย


IoT ทำงานอย่างไร ?
ระบบ IoT โดยทั่วไปทำงานด้วยการรวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบเรียลไทม์ โดยระบบ IoT มีองค์ประกอบสามส่วน ได้แก่

1.อุปกรณ์อัจฉริยะ
นี่คืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรทัศน์ กล้องรักษาความปลอดภัย หรืออุปกรณ์ออกกำลังกายที่มีความสามารถในการประมวลผล ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อม ข้อมูลที่ได้รับจากผู้ใช้ หรือรูปแบบการใช้งาน และสื่อสารข้อมูลดังกล่าวผ่านอินเทอร์เน็ตไปยังและจากแอปพลิเคชัน IoT

2.แอปพลิเคชัน IoT
แอปพลิเคชัน IoT คือชุดของบริการและซอฟต์แวร์ที่ผสานรวมข้อมูลที่ได้รับจากอุปกรณ์ IoT ต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิงหรือปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลนี้และตัดสินใจอย่างชาญฉลาด จากนั้นจะสื่อสารการตัดสินใจเหล่านี้กลับไปยังอุปกรณ์ IoT และอุปกรณ์ IoT จะตอบสนองต่อข้อมูลที่ได้รับอย่างชาญฉลาด 

3.ส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก
คุณสามารถจัดการอุปกรณ์ IoT หรือฟลีตอุปกรณ์ได้ผ่านส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก โดยตัวอย่างทั่วไป ได้แก่ แอปพลิเคชันมือถือหรือเว็บไซต์ที่สามารถใช้เพื่อลงทะเบียนและควบคุมอุปกรณ์อัจฉริยะได้