Translate

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2567

AI หรือปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

 AI หรือปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานโดยต้องใช้ความสามารถเชิงปัญญาคล้ายกับมนุษย์ เช่น การเรียนรู้ การแก้ปัญหา การรับรู้ การเข้าใจภาษา และการตัดสินใจ




AI ถูกแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก:

  1. AI เฉพาะทาง (Narrow AI): เป็น AI ที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำงานเฉพาะเจาะจง เช่น ระบบการรู้จำเสียง ระบบแนะนำสินค้า หรือระบบวินิจฉัยโรค
  2. AI ทั่วไป (General AI): เป็น AI ที่มีความสามารถในการทำงานและตัดสินใจได้หลากหลายเหมือนกับมนุษย์ แต่ปัจจุบันยังไม่มีระบบ AI ที่สามารถทำได้ถึงระดับนี้

การทำงานของ AI สามารถแบ่งออกเป็นหลายๆ ด้าน เช่น

  • การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning): เป็นการใช้ข้อมูลในการฝึกฝนโมเดลเพื่อให้ระบบสามารถทำนายหรือตัดสินใจได้
  • การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing, NLP): เป็นการให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและสร้างภาษามนุษย์
  • ระบบวิชัน (Computer Vision): เป็นการให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและวิเคราะห์ภาพหรือวิดีโอ
  • การวางแผนและการตัดสินใจ (Planning and Decision Making): เป็นการให้คอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจในการทำงานต่างๆ ได้

AI มีการนำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น การแพทย์ การเงิน การขนส่ง การผลิต และการบริการ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ





วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2566

Datacenter คืออะไร?

 Datacenter (ศูนย์ข้อมูล) เป็นสถานที่ที่รวมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายที่ใช้ในการเก็บรักษาข้อมูลและดำเนินการคำนวณขององค์กรหรือองค์กรอื่น ๆ ศูนย์ข้อมูลมักจะมีคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ที่รวมกันเป็นระบบ เครือข่ายเพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลและการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ



Datacenter มักจะมีอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นเซิร์ฟเวอร์, เครือข่าย, ระบบจัดเก็บข้อมูล (storage), และระบบรักษาความปลอดภัย เป็นต้น เครื่องแม่ข่ายและอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้ใน Datacenter มักจะมีการกำหนดค่าและการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างเสถียรและเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ



Datacenter เป็นสถานที่ที่สำคัญสำหรับองค์กรหรือธุรกิจที่มีการใช้งานเทคโนโลยีสูง ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาข้อมูลสำคัญและระบบสำคัญ นอกจากนี้ยังมีบริการ Datacenter ที่ให้บริการแก่ลูกค้าภายนอกเพื่อให้การเก็บรักษาข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ในลักษณะเช่าเป็นบริการ (Infrastructure as a Service หรือ IaaS) หรือสำหรับการใช้พื้นที่สำหรับเซิร์ฟเวอร์ (Co-location Service) อีกด้วย




Datacenter มีประโยชน์หลายอย่างสำหรับองค์กรหรือธุรกิจ ดังนี้:

1. เก็บรักษาข้อมูล: Datacenter ช่วยในการเก็บรักษาข้อมูลที่สำคัญและมีความสำคัญสำหรับธุรกิจ ซึ่งรวมถึงข้อมูลลูกค้า, ข้อมูลการเงิน, รายงานการวิเคราะห์, และข้อมูลอื่น ๆ การเก็บรักษาข้อมูลใน Datacenter ช่วยให้ข้อมูลปลอดภัยและสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา และรองรับการสำรองข้อมูลและการกู้คืนภายในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือความผิดพลาดระบบ


2. ความเสถียรและการดำเนินงานต่อเนื่อง: Datacenter มีโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงและเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่สำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้ตลอดเวลาโดยไม่มีการหยุดชะงักหรือสูญเสียข้อมูล การสำรองข้อมูลและระบบความเสถียรใน Datacenter ยังช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากอุบัติเหตุเช่นไฟฟ้าดับหรือภัยพิบัติอื่น ๆ


3. การเร่งความเร็วและประสิทธิภาพ: Datacenter มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงและเครือข่ายที่รวดเร็ว เมื่อธุรกิจมีความต้องการในการประมวลผลข้อมูลที่มากขึ้นหรือการเชื่อมต่อที่ซับซ้อนมาก




การเลือกใช้ Datacenter นั้นเป็นเรื่องสำคัญสำหรับธุรกิจหรือองค์กร เนื่องจากมีผลต่อประสิทธิภาพและความเสถียรของระบบเทคโนโลยีที่ใช้งาน ดังนั้นควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ก่อนที่จะเลือกใช้ Datacenter ดังนี้:

1. ความเสถียรของบริการ: ตรวจสอบความเสถียรและความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ Datacenter โดยดูที่ประสิทธิภาพในการดำเนินการและการบำรุงรักษาระบบ รวมถึงมาตรการที่มีในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและการสำรองข้อมูล

2. ประสิทธิภาพและความยืดหยุ่น: ตรวจสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ใน Datacenter ว่ามีความสามารถในการรองรับการประมวลผลและการเชื่อมต่อที่ต้องการของธุรกิจหรือไม่ และยังควรพิจารณาถึงความยืดหยุ่นในการปรับปรุงและขยายขนาดของระบบในอนาคต

3. ความปลอดภัย: ตรวจสอบระบบความปลอดภัยที่มีอยู่ใน Datacenter เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลของธุรกิจจะได้รับการปกป้องอย่างเหมาะสม รวมถึงมีการสำรองข้อมูลและมีการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลที่เข้มงวด

4. ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์: พิจารณาตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของ Datacenter

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

บริการ MA กับ PM แตกต่างกันอย่างไร ?

  


  บริการ Maintenance Agreement คือ บริการดูแลและบำรุงรักษา เครื่องคอมพิวเตอร์ PC และ Laptop อุปกรณ์เครือข่าย (Network Device) เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เครื่องลูกข่าย (Client หรือ Workstation) ตลอดจนระบบโปรแกรมใช้งานต่างๆ (Application Software) ให้อยู่ในสถานะพร้อมใช้งานตลอดเวลา

นอกจากนี้การให้บริการ MA ยังรวมไปถึงการให้คำปรึกษาแนะนำกับผู้ใช้งานเกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆในระบบเครือข่าย ให้ถูกต้องและปลอดภัยจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆซึ่งอาจก่อปัญหาได้ เช่น Virus Computer เป็นต้น

เหตุผลที่ควรมี  MA

  • พนักงานบริษัทใช้งานโปรแกรมไม่เป็น
  • กรณีที่ซื้อโปรแกรมแกรมมาแล้วแต่ใช้งานไม่ได้
  • ไม่มีความรู้เรื่อง server หรือความรู้เรื่อง Network
  • Upgrade Version ของ Software เพื่อให้โปรแกรมทันสมัยไม่เป็น
  • บริษัทไม่มีทีมพัฒนา Application Software เป็นของตัวเอง


บริการ Preventive Maintenance (PM) คือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน โดยการวางแผนเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่หรือการซ่อมแซมชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องจักรหลังการใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เพื่อเป็นการตรวจสอบความเสียหายเบื้องต้นและยืดเวลาการใช้งานของเครื่องจักรให้นานมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีความจำเป็นอย่างย่ิงสำหรับผู้ประกอบการทั้งหลาย เพราะนอกจากจะช่วยลดปัญหาความขัดข้องระหว่างการผลิตได้อย่างแม่นยำแล้ว ยังทำให้สามารถผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกเช่นกัน

ตามหลักทั่วไป การป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นล่วงหน้านั้นถือว่าดีกว่าอยู่แล้ว การบำรุงรักษาเชิงป้องกันช่วยลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดโดยการส่งเสริมประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ดีที่สุด รายการต่อไปนี้แสดงถึงวิธีการบางประการที่ทีมดูและทรัพย์สินและฝ่ายซ่อมบำรุงสามารถอยู่เหนือการบำรุงรักษาเชิงป้องกันในแผนกของตน

  • กำหนดเวลาและดำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ
  • ทำความเครื่องจักรและทรัพย์สินเป็นประจำ
  • หล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวเพื่อลดการสึกหรอ
  • ปรับการควบคุมประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีที่สุด
  • ซ่อมแซมและเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ชำรุด
  • ดูแลน้ำมันหล่อลื่นให้สะอาดอยู่เสมอ


วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ระบบ ISDN PRI E1, PSTN , SIP คือ ?

 ระบบ ISDN PRI E1 , PSTN , SIP คือ ?

สายนอก (Trunk or CO) คือ คู่สายโทรศัพท์ที่มาจากผู้ให้บริการ NT,AIS,3BB เป็นต้น เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อกับระบบตู้สาขาโทรศัพท์ ซึ่งรูปแบบของสายนอก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด 

        1. PSTN หรือ สายทองแดง ( 1 Chanel : 1 Tel )

        2. E1 หรือ ISDN ( 1 Link = 30 Chanel + 100 Tel )

        3. SIP TRUNK (ไม่มีข้อจำกัดด้านคู่สาย)


PSTN (Public Switched Telephone Network) เดิมที PSTN สร้างขึ้นโดยใช้สัญญาณอะนาล็อกลอยตัวและสวิตช์บอร์ดที่ดำเนินการด้วยตนเอง แต่ถูกแทนที่ด้วยสวิตช์บอร์ดอัตโนมัติ




ISDN (Integrated Services Digital Network) PRI E1 นี้เป็นมาตรฐานของคู่สายโทรศัพท์ที่ใช้กันมาตั้งแต่ในอดีต

โดย Primary Rate Interface (PRI) นี้จะมีให้เลือกใช้งานอยู่ 2 มาตรฐานคือ แบบ T1, แบบ E1


แบบ T1 : จะมีแบนด์วิธ Bandwidth แต่ละช่องสัญญาณเท่ากับ 64-kbit/s และมีช่องสัญญาณ ทั้งหมด 23 ช่องสัญญาณหรือ 23 คู่สายนั่นเอง  มี Bandwidth ทั้งหมด 1.536 Mbit/s /1 วงจร ซึ่งปกติคู่สายแบบ T1 จะนิยมใช้กันในแถบโซนอเมริกา 


แบบ E1 :  จะมีแบนด์วิธ Bandwidth แต่ละช่องสัญญาณเท่ากับ 64-kbit/s และมีช่องสัญญาณทั้งหมด 30 ช่องสัญญาณ หรือ 30 คู่สายนั่นเอง  มี Bandwidth ทั้งหมด 2.048 Mbit/s /1 วงจร ซึ่งปกติคู่สายแบบ E1 จะนิยมใช้กันในแถบโซนยุโรป และในประเทศไทยก็ใช้ E1 นี้เป็นมาตรฐานการใช้งาน



คุณสมบัติเด่น (ISDN PRI E1) 

การคิดอัตราค่าใช้บริการราคาประหยัด สำหรับการโทรในพื้นที่ (02), ต่างจังหวัด, มือถือทุกเครือข่าย, แฟกซ์

เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลางถึงใหญ่ที่ต้องการใช้โทรศัพท์หลายเบอร์แต่ประหยัดคู่สาย (1 DTI = 30 วงจร ได้หมายเลขตรง 100 หมายเลข)

สามารถเรียกเข้าหมายเลขได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่าน Operator

มีหมายเลขตรงทุก Extension

สามารถใช้เลขหมายสวยเป็นเบอร์ operator ได้

หมายเลขเรียงต่อกันและมีเลขสวย ซึ่งง่ายต่อการจดจำและประชาสัมพันธ์

เป็นระบบ Digital ซึ่งไม่มีปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวน และใช้เพียง 2 คู่สายภายใน

เมื่อโทรออกสามารถกำหนดให้แสดงเบอร์ตรงที่ปลายเพื่อความสะดวกในการติดต่อกลับในภายหลัง

ในกรณีใช้หัวเครื่อง Digital สามารถแสดงเลขหมายโทรเข้าได้



SIP TRUNK (Session Initiated Protocol Trunk) - การสนทนาด้วยเสียงผ่าน Internet ที่เรียกกันว่า VoIP คือการใช้ระบบเครือข่ายให้ทำงานในรูปแบบของเสียง สามารถพูดโต้ตอบกันได้ กรณีที่เป็น ADSL ทั่วไปจำเป็นต้องมี Server กลางสำหรับกำหนดการเชื่อมต่อ เช่น Skype DNS เป็นต้น  

SIP Trunk เปรียบเสมือนสายนอกในระบบเครือข่าย นำสัญญาณโดยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถติดต่อกันโดยใช้หมายเลขอ้างอิงจากผู้ให้บริการ ในปัจจุบันแต่ละผู้ให้บริการยังไม่สามารถโทรข้ามกัน ผู้ใช้ SIP Trunk ด้วย SIP Provider เดียวกันสามารถโทรหากันได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย


คุณสมบัติเด่น (SIP Trunk)

คิดอัตราค่าใช้บริการในราคาประหยัด สำหรับการโทรในพื้นที่ (02), ต่างจังหวัด, มือถือทุกเครือข่าย, แฟกซ์

รองรับการกำหนดวงจรภายใน Trunk (Concurrent) และเลขหมายได้ตามความต้องการลูกค้า สามารถใช้งานได้เหมือนกับระบบโทรศัพท์พื้นฐานทั่วไป

ได้รับหมายเลขโทรศัพท์เช่นเดียวกับโทรศัพท์พื้นฐานตามพื้นที่ของการใช้งาน เช่น ลูกค้าในพื้นที่กรุงเทพจะได้รับหมายเลข 0-2XXX-XXXX หากอยู่ต่างจังหวัดก็จะได้รับหมายเลขโทรศัพท์ตามพื้นที่นั้น

สะดวกต่อการเพิ่มจำนวนคู่สายเพื่อรองรับการใช้งานที่มากขึ้น

สามารถใช้เป็นวงจรสำรอง ในกรณีที่ระบบโทรศัพท์พื้นฐานไม่สามารถใช้งานได้

สามารถใช้ประโยชน์จาก IP Network ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

รองรับการทำงานร่วมกับวงจรอินเทอร์เน็ตทุกผู้เครือข่าย





*** เกร็ดความรู้  : ระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิม
    ระบบโทรศัพท์ที่พวกเราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ในองค์กร หน่วยงาน จะอาศัยอุปกรณ์ ที่เราเรียกกันว่า ตู้สาขาโทรศัพท์  PABX , PBX ( Private Automatic Branch eXchange , Private Branch eXchange ) ที่คอยทำหน้าที่เป็น switching ให้เราสามารถโอนไปมาหากัน ได้ เวลาที่เราต้องการโทรออก ก็คอยหาคู่สายว่างให้เราสามารถโทรได้ PABX ที่รองรับ line โทรศัพท์เยอะๆ ก็มีขนาดใหญ่(มากๆ) อยู่เหมือนกัน และต้องเดินส่วนเฉพาะสำหรับใช้งานระบบโทรศัพท์ แบบ 1 ต่อ 1 เช่นมี 1000 คู่สายภายใน ก็ต้องมี 1000 สาย เชื่อมต่อไปยังเครื่องโทรศัพท์



วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565

Wifi 6 คือ ?

 Wifi 6 คือ ?


WiFi (Wi-Fi) เป็นมาตรฐาน LAN ไร้สาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ IEEE 802.11 สำหรับการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ

รุ่น/มาตรฐาน IEEE

Wi-Fi 6 (มาตรฐาน IEEE 802.11ax) >>> ความถี่ 2.4/5 GHz >>> Link Rate Max : 600–9608 Mbit/s

Wi-Fi 5 (มาตรฐาน IEEE 802.11ac) >>> ความถี่ 5 GHz >>> Link Rate Max : 433–6933 Mbit/s

Wi-Fi 4 (มาตรฐาน IEEE 802.11n) >>> ความถี่  2.4/5 GHz >>> Link Rate Max : 72–600 Mbit/s


ข้อดีของ WIFI6 : ความเร็วมากขึ้น

เนื่องจากแบนด์วิดธ์ที่เพิ่มขึ้นที่ Wi-Fi 6 จ่ายให้ สิ่งนี้กำลังทวีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากขนาดไฟล์ยังคงเพิ่มขึ้น

อย่างต่อเนื่องพร้อมกับความต้องการข้อมูลที่สูงขึ้นในการสตรีมวิดีโอคุณภาพสูงและการเล่นเกมออนไลน์ที่

ต้องใช้การสื่อสารอย่างหนัก การเล่นเกมแบบผู้เล่นหลายคนพร้อมกันขณะมีการสตรีม 

ต้องใช้แบนด์วิดธ์ขนาดใหญ่และการเชื่อมต่อที่เชื่อถือได้และเสถียร


แล้ว Wi-Fi 6 เร็วขึ้นขนาดไหน ?

9.6 Gbps คือระดับความเร็วสูงสุดของ Wi-Fi 6 ในช่องสัญญาณต่างๆ ในทางตรงกันข้าม Wi-Fi 5 นั้นมีระดับความเร็วสูงสุดที่ 3.5 Gbps



Wi-Fi 6 มีความหน่วงที่ต่ำลงได้ถึง 75% โดยสามารจัดการการรับส่งข้อมูลเครือข่ายจำนวนมากอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

สำหรับนักเล่นเกมแล้ว นั่นหมายถึงการดาวน์โหลดเกมที่เร็วขึ้น ความเร็วในการอัปโหลดที่ดีขึ้นในการสตรีมการเล่นเกม


อะไรที่ทำให้ Wi-Fi 6 เร็วขึ้น ?

เทคโนโลยี Orthogonal Frequency Division Multiple Access (OFDMA) OFDMA ทำงานโดยการแบ่งช่องสัญญาณเป็นคลื่นพาห์ย่อย

และอนุญาตให้รับส่งไปยังอุปกรณ์ปลายทางหลายจุดในเวลาเดียวกัน เราเตอร์ Wi-Fi 6 สามารถส่งสัญญาณต่างๆ ใ

นหน้าต่างรับส่งสัญญาณเดียวกันได้ ส่งผลให้เราเตอร์สามารถที่จะสื่อสารกับอุปกรณ์หลายชนิดได้ด้วยการส่งสัญญาณเพียงครั้งเดียว

แทนที่จะต้องรอให้ถึงรอบของแต่ละอุปกรณ์เนื่องจากเราเตอร์รับส่งข้อมูลให้ทั่วทั้งเครือข่าย


เทคโนโลยี Beamforming เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ Wi-Fi 6 ปรับปรุงเพื่อให้ได้ความเร็วที่สูงขึ้น วิธีการส่งข้อมูลที่สุดล้ำสมัยนี้จริง ๆ 

แล้วทำได้ค่อนข้างง่าย แทนที่จะกระจายข้อมูลไปในทุกทิศทาง เราเตอร์จะตรวจจับตำแหน่งที่อุปกรณ์ที่ร้องขอข้อมูลอยู่และ

ส่งกระแสข้อมูลที่ถูกแปลงไปมากขึ้นในทิศทางนั้น



วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2565

มาตรฐาน OSI 7 Layer

มาตรฐา่น OSI 7 Layer


องค์กรมาตรฐาน ISO (Internation Organization for Standardzation) ได้ทำการศึกษาหาแนวทางกำหนดมาตรฐานฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในระบบเครือข่าย โดยตั้งชื่อมาตรฐานว่า ISO (Open System interconnection) เพื่อให้เครือข่ายที่ถูกสร้างจากบริษัทต่างๆ สามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกันได้ โดยโครงสร้างจะถูกแบ่งได้ 7 Layer


1. Physical Layer  เป็นระดับต่ำสุดจะมองในแง่สัญญาณที่ส่งข้อมูลระหว่างกัน รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อจริงๆ อุปกรณ์ระดับนี้ เช่น สาย Fiber Optic, สาย UTP, Hub, Repeater

2. Data Link Layer เป็นระดับที่ใช้รับส่งข้อมูลผ่านตัวกลาง (Media) และจัดรูปแบบของเฟรม (Frame) เพื่อเชื่อมต่อกับระดับที่ 3 อุปกรณ์ที่ทำงานในชั้นนี้ เช่น สวิตซ์ (Switch) 

3. Network Layer เป็นระดับที่มองข้อมูลที่แพ็กเกจ (Package) โดยที่แพ็คเกจอาจจะใหญ่หรือเล็กจะเป็นข้อมูลที่ถูกซอยย่อยให้างไปในเครือข่าย ซึ่งข้อมูลบางส่วนในแพ็คเกจใช้เป็นตัวช่วยบอกเส้นทางที่แพ็คเกจนั้นจะเดินทางไป อุปกรณืในชั้นนี้ เช่น เราเตอร์ (Router)

4. Transport Layer เป็นระดับที่ใช้ในการควบคุมความผิดพลาดในการรับ-ส่งข้อมูลจากต้นทางไปปลายทาง

5. Session Layer เป็นระดับที่ใช้กำหนดวิธีการควบคุมการเชื่อมต่อระหว่างผู้รับข้อมูลและผู้ส่งข้อมูล ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดการสื่อสาร

6. Presentation Layer เป็นระดับที่ดูแลเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างแอปพลิเคชันของคอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ ในเครือข่าย

7. Application Layer เป็นระดับที่จัดการเกี่ยวกับแอปพลิเคชัน เช่น การเข้าถึงญานข้อมูล หรือการรับ-ส่ง E-mail



วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564

เทคโนโลยี Blockchain

เทคโนโลยีบล็อกเชนคืออะไร



        เทคโนโลยีบล็อกเชน เป็นกลไกฐานข้อมูลขั้นสูงที่เปิดรับการแบ่งปันข้อมูลที่โปร่งใสภายในเครือข่ายธุรกิจ โดยฐานข้อมูลบล็อกเชนจะจัดเก็บข้อมูลในบล็อกที่เชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวจะมีความสอดคล้องกันตามลำดับเวลาเนื่องจากคุณไม่สามารถลบหรือแก้ไขลูกโซ่ได้หากไม่ได้รับฉันทามติจากเครือข่าย ด้วยเหตุนี้ คุณจึงสามารถใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อสร้างบัญชีแยกประเภทที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้และไม่เปลี่ยนรูปเพื่อติดตามคำสั่งซื้อ การชำระเงิน บัญชี และธุรกรรมอื่นๆ ระบบดังกล่าวมีกลไกภายในที่ป้องกันการเพิ่มธุรกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาตและสร้างมุมมองของธุรกรรมร่วมเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ



       จุดกำเนิดของ Blockchain
        เมื่อปี 2008 ในช่วงวิกฤตเศษฐกิจครั้งใหญ่ที่เราเรียกว่า Global Financial Crisis บุคคลนิรนามที่ใช้ชื่อว่า Satoshi Nakamoto ได้ให้กำเนิดสิ่งที่เรียกว่าบิทคอยน์ขึ้นมา โดยออกแบบให้บิทคอยน์เป็นเงินดิจิทัลสกุลแรกในประวัติศาสตร์ที่ใครๆก็สามารถใช้ได้ ทุกคนสามารถถือเงินและโอนเงินหากันได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใด ๆ เช่นธนาคาร และที่สำคัญ มันไม่ได้ถูกสร้างหรือควบคุมโดยรัฐหรือองค์กรใด ๆ


เป็นการเก็บข้อมูล ซึ่งไม่มีตัวกลาง โดยข้อมูลจะถูกแชร์และจัดเก็บเป็นสำเนาไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน

เสมือนห่วงโซ่ (Chain) เทคโนโลยีนี้จะช่วยด้านความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมการเงินแบบไม่อาศัยคนกลาง


    (1) กรณีมี Hacker ต้องการทำลายข้อมูลเอกสารการเงิน Hacker ต้องไปทำลายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันทุกเครื่อง

    (2) กรณีมี Hacker ต้องการขโมยข้อมูล จะต้องทำการ Hack ให้ได้มากกว่า 51% จึงจะทำการ Hack สำเร็จ โดยต้องไปขโมยข้อมูลเดียวกันทุกเครื่องในฐานข้อมูลเดียวกัน



และที่สำคัญเทคโนโลยีนี้ได้มีการนำมาใช้กับการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล เช่น Bitcoin , ETH และอื่นๆ

เอา Blockchain มาใช้กับการเงิน Bitcoin 

Bitcoin และบล็อกเชนแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
Bitcoin และบล็อกเชนอาจใช้แทนกันได้ แต่ทั้งคู่เป็นสองสิ่งที่แตกต่างกัน เนื่องจาก Bitcoin เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในยุคแรก ผู้คนจึงเริ่มใช้ Bitcoin เพื่อสื่อความหมายถึงบล็อกเชนโดยไม่ได้ตั้งใจ จนทำให้เกิดการเรียกชื่อผิดนี้ขึ้น แต่เทคโนโลยีบล็อกเชนมีการประยุกต์ใช้มากมายนอกเหนือจาก Bitcoin

Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ทำงานโดยไม่มีการควบคุมจากศูนย์กลาง แต่เดิมนั้น มีการสร้าง Bitcoin ขึ้นเพื่อทำธุรกรรมทางการเงินทางออนไลน์ แต่ตอนนี้ถือว่าเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่สามารถแปลงเป็นสกุลเงินอื่นๆ ทั่วโลกได้ เช่น USD หรือยูโร โดยเครือข่ายบล็อกเชน Bitcoin แบบเปิดสาธารณะจะสร้างและจัดการบัญชีแยกประเภทกลาง 

เครือข่าย Bitcoin
บัญชีแยกประเภทสาธารณะบันทึกธุรกรรม Bitcoin ทั้งหมด และเซิร์ฟเวอร์ทั่วโลกต่างมีสำเนาของบัญชีแยกประเภทนี้ เซิร์ฟเวอร์จึงเปรียบเสมือนธนาคาร แม้ว่าแต่ละธนาคารจะรับทราบเพียงข้อมูลเกี่ยวกับเงินที่ลูกค้าแลกเปลี่ยน แต่เซิร์ฟเวอร์ Bitcoin นั้นรับรู้ถึงธุรกรรม Bitcoin ทุกรายการที่เกิดขึ้นในโลก

ไม่ว่าใครที่มีคอมพิวเตอร์สำรองสักเครื่องก็สามารถตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ซึ่งเรียกว่าโหนดได้ ซึ่งเปรียบเสมือนกับการเปิดธนาคาร Bitcoin ของคุณเองแทนที่จะเป็นบัญชีธนาคาร

การขุด Bitcoin
ในเครือข่าย Bitcoin สาธารณะ สมาชิกจะขุดหาสกุลเงินดิจิทัลโดยการแก้สมการในการเข้ารหัสเพื่อสร้างบล็อกใหม่ ระบบจะเผยแพร่ธุรกรรมใหม่แต่ละรายการสู่สาธารณะไปยังเครือข่ายและแบ่งปันจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง ทุกๆ 10 นาทีหรือราวๆ นั้น นักขุดจะรวบรวมธุรกรรมเหล่านี้ไว้ในบล็อกใหม่และเพิ่มเข้าไปยังบล็อกเชนอย่างถาวร ซึ่งทำหน้าที่เหมือนสมุดบัญชีขั้นสุดท้ายของ Bitcoin



ทั้งนี้การขุดต้องใช้ทรัพยากรการในการประมวลผลจำนวนมหาศาลและใช้เวลานานเนื่องจากความซับซ้อนของกระบวนการด้านซอฟต์แวร์ นักขุดจึงได้รับสกุลเงินดิจิทัลจำนวนเล็กน้อยเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน โดยนักขุดเปรียบเสมือนเสมียนสมัยใหม่ที่บันทึกธุรกรรมและเก็บค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม

จากนั้นผู้เข้าร่วมทุกคนในเครือข่ายจะบรรลุฉันทามติว่าบุคคลใดเป็นเจ้าของเหรียญใด โดยใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสบล็อกเชน